ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Betel pepper - Betel leaf, Betel vine, Betel pepper [3]
- Betel pepper - Betel leaf, Betel vine, Betel pepper [3]
Piper betle Linn.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Piperaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle Linn.
 
  ชื่อไทย พลู
 
  ชื่อท้องถิ่น - ใบปู(คนเมือง), ล่ะบรู่(ปะหล่อง), ปูเหละ(กะเหรี่ยงแดง), พลู(คนเมือง) - ใบพลู (ภาคใต้), เปล้าอ้วน, ซีเก๊าะ (มลายู-นราธิวาส), พลูจีน (ภาคกลาง), ปู (เหนือ), ดิ่อเจี่ย (แต้จิ๋ว), จวี้เจี้ยง (จีนกลาง) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อยระบบรากฝอย (fibrous root system) เกิดตามข้อใช้หาอาหารและยึดเกาะ ซึ่งรากหาอาหารจะอยู่ในดินทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารจากดินมาเลี้ยงลำต้น มีรากขนาดใหญ่ประมาณ 6 รากและมีรากแขนงแตกแยกออกไปเป็นวงกว้างตามขนาดของทรงพุ่มและจะหยั่งลึกลงไปในดิน ส่วนรากยึดเกาะบางครั้งเรียกว่ารากตีนตุ๊กแก จะแตกออกตามข้อทำหน้าที่ยึดเกาะกับเสาหรือหลักหรือวัตถุค้ำยันเพื่อให้ลำต้นสูงขึ้นไปและไม่ให้ลำต้นหลุดร่วงออกได้ง่าย รากชนิดนี้ไม่ทำหน้าที่หาอาหาร ปกติเป็นรากใหม่อ่อนๆ ลำต้น เป็นเถาเลื้อยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-5 มิลลิเมตร ลักษณะของลำต้นอวบน้ำมีร่องเล็กๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว เจริญยึดเกาะกับเสาหรือไม้ค้ำยันหรือหลัก
ใบ เดี่ยว รูปไข่หรือรูปหัวใจ ฐานใบมนหรือค่อนข้างกลม ใบมีขนาดความยาวประมาณ 6-17.5 ซม. และกว้างประมาณ 3.5-10 ซม. ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น เส้นใบด้านบนจะบุ๋มลงไปตลอดแผ่นใบ ส่วนผิวใบด้านล่างจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน
ดอก ช่ออัดกันแน่น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้านดอก รูปร่างของดอกช่อเป็นรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-15 ซม.
เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรีคล้ายรูปไข่ มีขนาดความยาวประมาณ 2.25-2.6 มม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มม. [3]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว รูปไข่หรือรูปหัวใจ ฐานใบมนหรือค่อนข้างกลม ใบมีขนาดความยาวประมาณ 6-17.5 ซม. และกว้างประมาณ 3.5-10 ซม. ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น เส้นใบด้านบนจะบุ๋มลงไปตลอดแผ่นใบ ส่วนผิวใบด้านล่างจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน
 
  ดอก ดอก ช่ออัดกันแน่น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้านดอก รูปร่างของดอกช่อเป็นรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-15 ซม.
 
  ผล เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรีคล้ายรูปไข่ มีขนาดความยาวประมาณ 2.25-2.6 มม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ เคี้ยวกินกับหมาก(คนเมือง,ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแดง)
- ใบ ขยี้แล้วใช้อุดจมูก ช่วยห้ามเลือดกำเดาให้หยุดไหล(คนเมือง)
- ใบ ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
น้ำมันพลู ซึ่งมีสารประกอบฟีนอล (phonolic compound) ได้แก่ isoeugenol, chavicol, eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคทำให้ปลายประมาทชา แก้อาการคัน
ใบมีรสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดศีรษะ ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอก แก้ปวด บวม ฟกช้ำ เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ฆ่าเชื้อโรคหนอง ฝี วัณโรค แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แมลงกัดต่อย แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้องและแก้ลูกอัณฑะยาน บรรเทาอาการไอมีเสมหะ แก้คัดจมูก เจ็บคอ
อินเดียใช้น้ำคันจากใบพลูสดเป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบายอาการท้องผูก ยาเจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดไข้ แก้ปวดศรีษะ ขับลมในกระเพาะอาหาร ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น เป็นยาสมานแผล และใช้ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
แก้อาการผื่นคัน ลมพิษ แพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสด 3-4 ใบ ตำผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำทา หรือใช้กับแผลเปิดจะแสบมาก ไม่ควรให้โดนลมโดยต้องเอาผ้าปิดไว้ เมื่อทาผิวหนังจะชา ทำให้หายคัน และใช้ก้านพลูเขียนคิ้วให้เด็กทารกเพื่อให้คิ้วดก
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ใช้ใบพลูตำรวมกับน้ำมะพร้าว ใส่ผ้าขาวบางห่อ อังไฟให้ร้อนพอประมาณ นำมาประคบบริเวณท้อง
แก้ตาแดง ใบพลู ขมิ้นอ้อยหั่นเป็นชิ้นบางๆ สารส้มเท่าเม็ดพริกไทยและน้ำเปล่า ตั้งบนเตาไฟให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วหยอดตา (ควรระวังอันตรายมาก)
น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน ใบพลู 7 ใบ รากเจตมูลเพลิงสด 7 ท่อน พริกขี้หนู 7 เม็ด ข่าสด 7 ท่อน ทั้งหมดมาตำรวมกันให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟลวก ดับพิษร้อน ป้องกันการติดเชื้อ
แก้เล็บขบ ใช้ใบพลูสด 1-2 ใบ ตำกับเกลือ 1-2 หยิบมือ ใส่น้ำพอชุ่มพอกแผล ถ้าแผลปิดมีหนองข้างในต้องล้างหรือเจาะหนองออกก่อน
แก้วิงเวียน ใช้ใบพลูสด 1-2 ใบ ตำกับหมากแล้วเคี้ยว ระวังบางคนอาจเมา
แก้เท้าเหม็น ใบพลู หัวไพล การบูร ผิวมะกรูด และสารส้ม ในอัตราส่วนไพลกับพลูมากกว่าสมุนไพรตัวอื่น นำทุกอย่างตำหรือบดละเอียด ผสมน้ำสำหรับแช่เท้า
บรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ขับเสมหะ ใช้ใบพลูตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำรับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ระวังเมา
แก้หอบหืด ใบพลูตำให้ละเอียด ม่ผ้าขาวห่อ อังไฟให้ร้อนพอประมาณ นำมาประคบหน้าอก [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง